ups สำหรับเครื่องผลิตออกซิเจน
07 Dec 2021

เครื่องสำรองไฟฟ้าสำหรับเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา

ยุคนี้ต้องปกป้องกันตัวเองมากเป็นพิเศษจากเชื้อไวรัสโคโรนา-19 หรือที่พวกเราคุ้นกันในชื่อโควิด 19 ที่ระบาดไปทั่วโลกมาเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว และยังไม่มีท่าทีจะสิ้นสุดลงในเร็ววัน 

อันตรายของเชื้อโควิด 19 นั่นคือ ติดต่อกันง่ายเหมือนโรคหวัด อาการคล้ายกับหวัด แต่รุนแรงกว่ามาก เพราะหากเชื้อโควิด 19 ลงปอด จะส่งผลให้เชื้อไปทำลายเนื้อปอดจนผู้ป่วยหายใจลำบาก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภายใน 7-14 วัน เนื่องจากเกิดภาวะพร่องออกซิเจน 

 

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) 

ภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายขาดออกซิเจน อันเป็นผลจากร่างกายมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ จนผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

 

อาการเมื่อเชื้อโควิด 19 ลงปอด

อย่าเพิ่งตกใจว่าทุกคนที่ติดเชื้อโควิด 19 จะเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากเชื้อโควิด 19 ลงปอดกันทุกคน กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงที่สุดคือผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหอบหืด และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ แต่บางครั้งผู้มีร่างกายแข็งแรงอาจมีภาวะเชื้อโควิด 19 ลงปอดได้เช่นกัน เพียงแต่เกิดขึ้นได้น้อยกว่า ซึ่งอาการเมื่อเชื้อโควิด 19 ลงปอดมีดังนี้ 

  1. มีไข้สูง
  2. ไอ ทั้งไอแบบแห้งหรือไอแบบมีเสมหะ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าปอดเริ่มอักเสบ
  3. หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด แน่นหน้าอก
  4. เหนื่อยง่ายขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้ออกแรงเยอะ หรือแม้แต่ตอนทำกิจวัตรประจำวันเบา ๆ ก็ตาม 
  5. หอบ
  6. วัดค่าออกซิเจนในเลือดแล้วได้ผลต่ำกว่า 94% ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 97-100%  

ผู้ป่วยโควิด 19 นอนรักษาตัว

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะเชื้อโควิด 19 ลงปอด   

หากคุณติดเชื้อโควิด 19 แล้วต้องรักษาตัวอยู่บ้านระหว่างรอเตียงหรือรอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม คุณควรดูแลตัวเองด้วยวิธีดังต่อไป เพื่อลดภาระการเจ็บปวดของร่างกาย

 

  1. นอนคว่ำ กอดหมอนไว้ใต้หน้าอก หรือนอนตะแคง (ในกรณีที่ไม่สามารถนอนคว่ำได้) เพื่อไม่ให้เกิดการกดทับที่ปอด ทั้งยังช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น
  2. ขยับแขนขาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด
  3. ทานอาหารให้เพียงพอ หากทานอาหารไม่ได้ ก็ควรดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนแอเกินไป
  4. ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2-2.5 ลิตรต่อวัน แต่ไม่ควรดื่มครั้งละมากๆ ควรใช้การจิบแทน
  5. หากต้องเข้าห้องน้ำ ไม่ควรไปคนเดียว เพราะอาจหน้ามืดและหมดสติเนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจนได้ 
  6. รับออกซิเจนจากเครื่องผลิตออกซิเจน 

เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทหนึ่ง สามารถผลิตออกซิเจนให้กับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจได้ ช่วยให้พวกเขาได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการ ช่วยให้ปอดทำงานน้อย ลดความอ่อนเพลียของร่างกาย และร่างกายสามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 

นอกจากนี้เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพายังประหยัดและสะดวกกว่า การใช้ถังออกซิเจนแบบดั้งเดิม เพราะไม่ต้องคอยตรวจสอบว่า ออกซิเจนใกล้หมดหรือไม่ ไม่ต้องวิ่งวุ่นคอยนำไปเติมในสถานที่ต่าง ๆ และที่สำคัญเลยนั่นคือ สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องผลิตออกซิเจนพกานี้ไปยังจุดที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย เพราะเครื่องมีขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายสะดวก 

 

เครื่องสำรองไฟฟ้าสำคัญอย่างไร กับเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา

เครื่องสำรองไฟฟ้า อุปกรณ์เสริมที่ควรมีเมื่อใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างเช่น ไฟดับ ไฟกระชาก จากเหตุการณ์แปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศหรืออื่น ๆ เครื่องสำรองไฟฟ้าจะทำการสำรองไฟไว้ เพื่อให้เครื่องผลิตออกซิเจนยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยโควิด 19 ก็ยังสามารถหายใจรับเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ตามปกติ ไม่ต้องทรมานจากภาวะพร่องออกซิเจน

เครื่องสำรองไฟฟ้า Syndome Atom 1000-LCD และ ECO ll-1200-LCD

เครื่องสำรองไฟฟ้ารุ่นประหยัดที่ซินโดมอยากแนะนำมี 2 รุ่นด้วยกัน คือ Atom 1000-LCD และ ECO ll-1200-LCD ซึ่งรองรับการทำงานกับเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาได้เป็นอย่างดี ด้วยการสำรองไฟได้นานกว่าด้วยหม้อแปลง Super-Lowloss อีกทั้งยังมีระบบป้องกันไฟกระชาก อย่าง Surge Protection ทำให้ควบคุมการจ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่อง และยังสามารถใช้งานสำรองไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้หลากหลายชนิดอีกด้วย

 

ดังนั้นนอกจากป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจะเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้ดี ทั้งใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน พกเจลล้างมือ ไม่ไปยังจุดเสี่ยง ล้างมือเป็นประจำ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อแล้ว อย่าลืมหาเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาและเครื่องสำรองไฟฟ้ามาติดบ้านไว้ เพื่อความปลอดภัยและอุ่นใจที่มากกว่าเดิม